นวดกะทิ – สีผึ้งกะทิ” คล้ายแต่ไม่เหมือน
“นวดกะทิ – สีผึ้งกะทิ” คล้ายแต่ไม่เหมือน วัตถุดิบหลักใช้เป็นกะทิเหมือนกัน แต่เสน่ห์และคุณสมบัติต่างกัน นี่คือภูมิปัญญาที่หลักแหลมของคนโบราณ ที่ใส่ใจประณีตบรรจงเพื่อให้ได้สรรพคุณที่แตกต่างกัน
นวดกะทิกับสีผึ้งกะทิต่างกันอย่างไร
สีผึ้งนวดกะทิ
“นวดกะทิ” เป็นสีผึ้งชนิดเคลือบปาก ป้องกันอาการปากแห้ง แบบเดียวกันกับสีผึ้งเนื้อทองค่ะ โดยสีผึ้งเนื้อทองจะมีเนื้อที่เหนียวสามารถยืดเป็นใยบางใสได้ แต่นวดกะทิจะมีความเหนียวละมุนๆแต่ยืดเป็นใยบางๆไม่ได้ พูดให้เห็นภาพคือมันมีความแมทท์ไม่มัน ไม่เงาวาว แต่ยังชุ่มชื่นนั่นเอง
จุดเด่นของ สีผึ้งเนื้อเคลือบปาก คือช่วย “กักเก็บ” ความชุ่มชื่นให้ผิวปากเราไม่แห้งกร้าน ไม่มีร่องปาก ไม่ลอกเป็นขุย โดยสีผึ้งเคลือบปากจะทำหน้าที่เป็นผิวบางๆอีกชั้นที่ช่วยป้องกันการสัมผัสอากาศหรือภาวะที่ทำให้ปากแห้งจากภายนอก เรียกได้ว่า ความชุ่มชื่นภายในไม่ให้ออก ความแห้งจากภายนอกไม่ให้มากระทบแบบนั้นเลย สมัยก่อน ในยุคที่การกินหมากยังเป็นที่นิยม สีผึ้งจะช่วยเคลือบปากกันน้ำหมากจับปาก กันปูนกัดปากด้วย
สีผึ้งกะทิ
ส่วน “สีผึ้งกะทิ” ก็เป็นสีผึ้งบำรุง เน้นเรื่องความชุ่มชื่น ไม่เคลือบปากเท่านวดกะทิ เวลาทาแล้วจะเนียนแนบไปกับผิวปาก เนื้อจะ “นิ่มละมุน” คล้ายสีผึ้งชมพูนุทหรือสีผึ้งพังแพว(ตำรับคำน่อย) คือจะไม่เหนียวละมุน (ไม่แมทท์) แบบนวดกะทิ
>> วิธีจัดการ อาการปากแห้ง ได้ผลแน่นอน
กลิ่นของ “นวดกะทิ” มี 2 แบบอยู่ที่วิธีการหุง
ตำรับแรกหุงให้ขึ้น “กลิ่นอ่อน” กลิ่นจะหอมๆหวานๆเหมือนขนม อีกตำรับหุงให้ขึ้น “กลิ่นเข้ม” กลิ่นจะเกือบไหม้แต่ไม่ไหม้ได้เป็นกลิ่นคล้ายกาแฟหอมๆนวดกะทิและสีผึ้งกะทินี้จะหุงให้ดี ต้องหุงให้ขึ้นขึ้นกลิ่นและเนื้อตรงตามตำรับ จึงขึ้นชื่อว่าหุ่งเป็นและหุงเก่ง
ความแตกต่างระหว่างกลิ่นหอมฟุ้งกับกลิ่นหอมลึก
ว่าด้วยเรื่องกลิ่นหอมนั้นเราจะมีวิธีดมกลิ่นเบื้องต้น เพื่อทุกคนให้รู้ได้ว่าสินค้าตัวไหนใส่น้ำหอม ตัวไหนไม่ใส่น้ำหอม สินค้าที่เกี่ยวกับริมฝีปากจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องน้ำหอม เพราะว่าสาเหตุอย่างนึงที่ทำให้ปากแห้ง ปากแตก ปากดำกัน ก็มาจากเคมีที่เป็นส่วนประกอบน้ำหอมด้วย เราสามารถแยกกลิ่นได้สองแบบ
1.กลิ่นหอมฟุ้ง
คือกลิ่นที่มีลักษณะมีการฟุ้งกระจายของกลิ่น ชนิดที่เรียกได้ว่าได้กลิ่นก่อนที่ตาจะเห็นเสียอีก เคยไหมที่เพื่อนของเราใส่น้ำหอมกลิ่นนั้นเป็นประจำ เจ้าตัวยังมาไม่ถึง กลิ่นน้ำหอมของเขาก็มาทักทายเราก่อนแล้ว นี่คือลักษณะกลิ่นหอมฟุ้ง มักจะใช้กับน้ำหอม ฉีดพรมที่ผิวกายเพียงเล็กน้อยก็ได้กลิ่นขจรขจาย ดอกไม้บางชนิดก็ให้กลิ่นหอมฟุ้งได้เหมือนกัน
2.กลิ่นหอมลึก
กลิ่นหอมลึกเป็นกลิ่นที่มีลักษณะเหนียมอาย ไม่หาวิธีเข้าไปหาเขา เขาก็ไม่เผยกลิ่นออกมาให้ดมง่ายๆ บางอย่างขนาดเอาจมูกจ่อไปดมใกล้ๆแล้วยังไม่ยอมเผยกลิ่นหอมของตัวเองออกมาเลย
วิธีการจะได้กลิ่นหอมลึก
เราจึงต้องทำการกระตุ้นด้วย เช่นการเอามือไปถูหรือไป “สี” เมื่อมันเกิดความเสียดสี ทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นโดยตรง กลิ่นก็จะยอมลอยออกมา กลิ่นหอมลึกมักจะอยู่ในวัตถุดิบตามธรรมชาติ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการการสกัดทางเคมี ยกตัวอย่างของกลิ่นหอมลึกจากนวดกะทิตัวนี้ก็ได้ เราจะไม่มีทางได้กลิ่นของกะทิจากระยะหลักเมตรเลย ต่อให้อยู่ใกล้ๆก็ยังไม่ได้กลิ่น จนกว่าเราจะหยิบมันขึ้นมาดมระยะประชิด ก็จะได้กลิ่นหอมในระดับหนึ่ง แต่พอเอานิ้วไปถูหรือสีมันเท่านั้นแหละ กลิ่นหอมของกะทิแท้ๆก็โชยขึ้นมาทันที เราจะรู้สึกได้เองว่านี่คือกลิ่นที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ตรงนี้อาจจะเป็นที่มาของคำว่า “สีผึ้ง”ก็ได้ คือมันเป็นของที่ต้อง “ถู “หรือ “สี” เวลาใช้จึงเห็นผลลัพท์
>> สั่งซื้อสินค้าคำน่อย คลิกเลย
สีผึ้งคำน่อย หาซื้อที่ไหนได้บ้าง
สามารถสั่งซื้อสินค้าสีผึ้งคำน่อย ได้ดังต่อไปนี้
|
|